SMS (Short Message Service) คือ บริการส่งข้อความสั้นๆ ผ่านเครือข่ายเข้าสู่โทรศัพท์มือถือ บริการนี้ถ้าปลายทางไม่มีสัญญาณ ข้อความจะถูกเก็บไว้จนกว่าจะมีสัญญาณอีกครั้งได้
การตลาดผ่านข้อความสั้นนี้ สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น
1. การส่งข้อความหากลุ่มลูกค้าที่มีฐานข้อมูลอยู่แล้ว เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร และประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการคอนเฟิร์มสิทธิพิเศษต่างๆ ที่สามารถทำได้
– ทั้งแบบทุกคนทั้งฐานข้อมูลได้ข้อความเดียวกันหมด
– ส่งแบ่งตามเซ็กเม้นท์ที่แต่ละกลุ่มจะได้รับข้อความต่างกัน
– ไปจนถึง Personalization ที่แต่ละคนจะได้รับข้อความไม่เหมือนกัน
การส่งเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์ กับกลุ่มเป้าหมาย หรือสร้าง engagement หลักๆ รูปแบบนี้ลูกค้ามีความสนใจ หรืออยากเข้าร่วมกับกิจกรรมที่แบรนด์จัด จึงกดส่ง SMS เข้ามา ตัวอย่างเช่น การกดรับสิทธิประโยชน์ หรือที่เมื่อก่อนฮิตกันมากๆ อย่าง การกดรหัสฝาชาเขียวชิงรางวัล เป็นต้น
2. การส่งข้อความหากลุ่มลูกค้าที่ไม่มีฐานข้อมูล โดยแบรนด์มาใช้ช่องทางหรือสื่อในรูปแบบร่วมทำแคมเปญกับผู้ให้บริการมือถือ อีกรูปแบบเช่น M Targeting ผ่าน Location Base ที่เมื่อลูกค้าเดินทางไปถึงสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง แล้วมีข้อความต้อนรับเข้าสู่งานนั้น หรือมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่า ตอนนี้มีการจัดงานนี้ที่นี้ ให้นำ SMS ที่ได้ไปรับส่วนลดหรือสิทธิพิเศษ ฯลฯ
ผลสำรวจจาก Gartner 90% ของผู้รับข้อความจะเปิดอ่าน ข้อความหลังจากได้รับภายใน 3 นาที และมีอัตราการตอบกลับสูงถึง 45% เพราะฉะนั้นการส่งข้อความ SMS ถือเป็นกลยุทธทางการตลาดที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวค่ะ
เคล็ดลับเพิ่มความสนใจให้กับลูกค้าผู้ได้รับ SMS
1. การตั้งชื่อผู้ส่ง (Sender Name)
Sender Name หรือ ชื่อผู้ส่ง เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้รับข้อความจะเห็นได้ชัดเจน ว่ามาจาก แบรนด์สินค้า หน่วยงาน หรือบริษัทใด ซึ่งการส่งข้อความผ่านระบบของ ShortMS จะสามารถกำหนด Sender Name ได้ตามความต้องการ แต่จำเป็นต้องเป็นภาษาอังกฤษ (a – z, A – Z) ตัวเลข (0 – 9) หรืออักษรพิเศษเท่านั้น ไม่สามารถเป็นภาษาไทยได้ เนื่องจากเครือข่ายยังไม่รองรับภาษาไทย และต้องไม่เกิน 10 ตัวอักษรเท่านั้น
2. การส่งข้อความ
การส่งข้อความมีเคล็ดลับง่ายๆ ที่มีผลต่อความสนใจของผู้ได้รับเป็นอย่างมาก มาดูกันค่ะ
* Make it special ทำให้ข้อความของคุณน่าประทับใจ ด้วยการขึ้นต้นข้อความด้วยการทักทาย ชื่อของลูกค้า และอ้างอิงถึงสินค้าที่เคยซื้อ แนะนำโปรโมชั่นที่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า และแนะนำสินค้ามาใหม่
* Make it relevent การส่งข้อความควรแยกส่งให้เหมาะ กับลูกค้าแต่ละกลุ่ม แบ่งได้จาก อายุ เพศ รายการสินค้าที่เคยซื้อไป ความสนใจ เพื่อจะได้ตอบโจทย์ลุกค้าได้อย่างแท้จริง
* การส่งข้อความไม่ควรส่งยาวเกินโดยส่วนใหญ่แล้ว การส่งข้อความภาษาไทย ไม่ควรเกิน 70 ตัวอักษร และภาษาอังกฤษไม่ควรเกิน 160 ตัวอักษร
* ส่งข้อความเดียวกันให้กับผู้รับหลายเบอร์
* ส่งข้อความไม่เหมือนกันเลย และเลือกข้อความส่งไปยังเบอร์ที่ไม่ซ้ำกันได้ สะดวกสบายมาก
3. เลือกเวลาให้เหมาะสม
การส่งข้อความ Happy time ควรเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการส่งข้อความให้ลูกค้า จากผลสำรวจพบว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือ
• วัน จันทร์ – ศุกร์ 08.00/ 12.00/ 17.00-19.00
• วัน เสาร์ 08.00 – 12.00
• วัน อาทิตย์ 09.00 – 12.00/ 16.00-19.00
ประโยชน์ของการส่งข้อความ SMS
1. การทำการตลาด หรือ Marketing
การใช้การส่งข้อความเป็นเครื่องมือในการทำการตลาด ที่บางคนอาจจะคิดว่าไม่ได้ผล แต่ปัจจุบันเรายังใช้โทรศัพท์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายมือถืออีกมากมาย ทำให้ยืนยันได้ว่าผู้ที่รับข้อความนั้นมีมากพอ สำหรับการทำการตลาด และเป็นเครื่องมือที่มีต้นทุนต่ำ เหมาะสำหรับการทำธุรกิจเป็นอย่างมาก
2. ใช้เป็นเครื่องมือแจ้งข่าวสาร
SMS เป็นเครื่องมือที่เข้าถึงได้ง่าย และทุกคนก็ใช้กัน ดังนั้น การแจ้งข่าวสารที่มีสาระ หรือประโยชน์ต่างๆ จะสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางการส่งข้อความสั้น และเป็นประโยชน์ต่อการกระจายข่าวสารอีกด้วย
3. เป็นเครื่องมือใช้เตือนภัยหรือช่วยเหลือ
ถือเป็นการใช้สื่อ ของโทรศัพท์มือถือให้เกิดประโยชน์อย่างมาก สามารถเข้าถึงได้ง่าย และเกือบทุกคนมีโทรศัพท์มือถือติดตัวเสมอ สามารถติดต่อและเตือนภัยได้ทันเวลา ถ้าหาดเกิดภัยพิบัติหรือเหตุด่วนเหตุร้าย เป็นอีกทางที่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการส่งข้อความมีประโยชน์ และได้ผลมากสำหรับผู้รับข้อความเลยนะคะ ดีกว่าการสื่อสารกันแบบบอกต่ออีกด้วยค่ะ และการส่งข้อความยังเป็นสื่อเคลื่อนที่ที่อยู่ติดตัวผู้รับข่าวสารตลอดเวลาอีกด้วยค่ะ
ตัวอย่างการส่งข้อความ
– ด้านธุรกิจการเงิน
การแจ้งรายการส่งเสริมการขาย ยกตัวอย่างเช่น การแจ้งเตือนชำระค่างวด, การแจ้งราคา/ดัชนีหลักทรัพย์
– หน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ
แจ้งข้อมูลข่าวสารในองค์กร นัดประชุม หรือแจ้งเตือนเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่ต้องการความเร่งด่วน
– ธุรกิจท่องเที่ยว
ส่ง Promotion Package ต่างๆ หรือแนะนำเทศกาลต่างๆ ที่น่าสนใจ หรือการแจ้งรายละเอียดการ booking ให้แก่ลูกค้า ยกตัวอย่าง
– ห้างสรรพสินค้า/ร้านสะดวกซื้อ
สามารถใช้สำหรับแจ้งความเคลื่อนไหวของสินค้าหรือบริการได้ แจ้งเตือนโปรโมชันต่างๆ ข้อความสำหรับการโฆษณา แจ้งข่าวเกี่ยวกับห้างสรรพสินค้า ส่งข้อความเกี่ยวกับสมาชิกของห้างสรรพสินค้า
– ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์/โครงการบ้านจัดสรรต่างๆ
แจ้งข่าวสาร พร้อมโปรโมชั่น เพื่อแนะนำโครงการใหม่ๆ ผ่านฐานลูกค้าเดิม
– ธุรกิจศูนย์บริการรถยนต์
แจ้งเตือนกำหนดตรวจเช็คสภาพรถยนต์ โปรโมชั่นส่วนลดค่าอะไหล่
– ธุรกิจร้านอาหาร และสถานบันเทิง
แจ้งโปรโมชั่นพิเศษ หรือกิจกรรมต่างๆ ของร้านในวันสำคัญๆ
– ธุรกิจโรงแรม/สปา/สถานเสริมความงาม
สามารถใช้สำหรับสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เสนอแพ็คเกจท่องเที่ยวต่างๆ แนะนำบริการใหม่ โปรโมทแคมเปญและกิจกรรม เชิญเข้าร่วมงาน แจกคูปอง ส่วนลดต่างๆ ยืนยันกันจอง หรือขอบคุณลูกค้าที่ใช้บริการ
-ธุรกิจข้อมูลข่าวสาร
การแจ้งข่าวในลักษณะ Headline News ซึ่งสามารถทำได้ทุกประเภทข่าว
– ธุรกิจขายตรง
การติดต่อสื่อสารกับสมาชิกในเครือข่าย, การ update program ต่างๆ
– โรงพยาบาล
สามารถใช้สำหรับการนัดหมายกับผู้ป่วย แจ้งผลตรวจสุขภาพ แจ้งเตือนการทานยาของผู้ป่วย ให้คำแนะนำในการดูแลรักษา แจ้งข่าวหรือกิจกรรมให้กับคนไข้ เรียกตรวจฉุกเฉิน
– โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาต่างๆ
สามารถใช้สำหรับการแจ้งผลการเรียนของบุตรหลาน แจ้งการเข้าเรียนบุตรหลาน แจ้งวันหยุดของโรงเรียน แจ้งพฤติกรรมของนักเรียน แจ้งวันเปิด – ปิด ของโรงเรียน ให้แก่ผู้ปกครองทราบได้
– กีฬาและสันทนาการ
สามารถแจ้งผลการแข่งขัน การวิเคราะห์เกมส์ก่อนการแข่งขัน แจ้งสถานที่ วันเวลาที่จัดการแข่งขัน โปรโมทแมทสำคัญได้
– การติดต่อภายในองค์กร
การแจ้งข่าวสารภายในองค์กรให้กับพนักงาน เช่น นัดประชุด แจ้งข่าวสารต่างๆ ในองค์กรแบบเร่งด่วน