Marketing Mix
Marketing Mix หรือ ส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วยหลายองค์ประกอบด้วยกัน ซึ่ง Marketing Mix เป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาดที่ครอบคลุม (Holistic Marketing) ปัจจุบัน Marketing Mix ได้มีการพัฒนาไปถึงมี 7 องค์ประกอบด้วยกัน หรือที่เรียกว่า 7P ซึ่งองค์ประกอบในแต่ละโมเดลจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม และเป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจนั้นๆ อย่างไรก็ตามทุกโมเดล จะมี 4P หรือ 4 องค์ประกอบของ Marketing Mix ที่เหมือนกัน ได้แก่
– Product (สินค้า)
– Price (ราคา)
– Placement (ตำแหน่ง)
– Promotion (การส่งเสริมการขาย)
การตลาดที่มีประสิทธิภาพจะเน้นการวิเคราะห์เชิงกว้าง หรือหลายองค์ประกอบมากกว่าที่จะโฟกัสแค่ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเท่านั้นนะคะ การวางแผนตามหลัก Marketing Mix 4P จะช่วยให้ผู้ประกอบการ หรือนักการตลาดโฟกัสในสิ่งสำคัญของแต่ละปัจจัยในการทำการตลาดได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งการใช้กลยุทธ์ 4P Marketing ยังช่วยให้องค์กรยังเป็นเครื่องมือในการช่วยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือแก้ไขผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ
ทำความเข้าใจ 4P marketing
1. Product (สินค้า)
Product มุ่งเน้นไปที่การวางแผน หรืออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในการทำการตลาด Product อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญคือต้องระบุสิ่งที่ทำให้แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ หรือบริการของคู่แข่ง (Points of Differentiation) นอกจากนี้ต้องมีการพิจารณาด้วยว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่นๆ ภายใต้แบรนด์เดียวกัน สามารถทำการตลาดร่วมกันได้หรือไม่
2. Price (ราคา)
ราคาขายของผลิตภัณฑ์จะสะท้อนถึงคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคยินดีจ่าย นักการตลาดต้องพิจารณาต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การพัฒนา การผลิต การตลาด และการจัดจำหน่าย หรือที่เรียกว่าราคาต้นทุน ซึ่งการกำหนดราคาสินค้านั้นมีด้วยกันหลายกลยุทธ์ หรือที่เรียกว่า Pricing strategy
3. Placement (ตำแหน่ง)
ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องพิจารณาเมื่อมีการกำหนดพื้นที่จำหน่าย สินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐาน เช่น ผลิตภัณฑ์กระดาษ มักมีวางจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไปหลายแห่ง อย่างไรก็ตาม สินค้าอุปโภคบริโภคระดับพรีเมียมจะมีขายในร้านค้าบางแห่งเท่านั้น ข้อควรพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ จะวางผลิตภัณฑ์ในร้านค้าที่มีหน้าร้าน ออนไลน์ หรือทั้งสองอย่าง
4. Promotion (การส่งเสริมการขาย)
ส่วนประสมทางการขาย (Pomotional mix) หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่าแคมเปญการตลาดร่วม (Joint marketing) กิจกรรมส่งเสริมการขายได้แก่
– การโฆษณา
– การลดราคาสินค้า
– การขายโดยพนักงานงาน (personal selling)
– หรือการประชาสัมพันธ์ (Public relations)
ทั้งนี้การกำหนดงบประมาณในการส่งเสริมการขายให้กับส่วนประสมทางการตลาดต่างๆ ยังเป็นสิ่งที่สำคัญในกลยุทธ์ Marketing Mix อีกด้วยนะคะ ดังนั้นนักการตลาดควรวางแผนการใช้กลยุทธ์ Marketing Mix ในส่วนประสมทางการตลาด 4P อย่างรอบคอบ เพื่อให้แบรนด์ และสินค้าเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองค่ะ การใช้สื่อในการทำการตลาดที่เหมาะสม กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงข้อความการตลาดที่สื่อออกไปยังผู้บริโภค ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กลยุทธ์เกิดประสิทธิผลมากที่สุดอีกด้วยค่ะ
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าการตลาดทั้งหมดจะเน้นไปที่ Product (สินค้า) ธุรกิจเชิงบริการ ส่วนประสมของ Marketing Mixอาจแตกต่างออกไปจากธุรกิจที่ตำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ ดังนั้นนักการตลาดจึงมักจะใช้แนวทาง Marketing Mix ที่เน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง และมีการนำองค์ประกอบ 3P เพิ่มเติมของ Marketing Mix มาใช้ดังนี้ค่ะ
3P Marketing เพิ่มเติมนี้ ได้แก่
– People (บุคคล)
– Process (กระบวนการ)
– Physical evidence (หลักฐานทางกายภาพ)
People (บุคคล) หมายถึงพนักงานที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า
Process (กระบวนการ) หมายถึง วิธีการหรือขั้นตอนในการให้บริการแก่ลูกค้า มักจะรวมการตรวจสอบประสิทธิภาพของบริการ และความพึงพอใจของลูกค้า
Physical evidence (หลักฐานทางกายภาพ) หมายถึงพื้นที่ที่พนักงานมีการให้บริการหรือติบโต้ลูกค้า ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและตกแต่งต่างๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ป้าย และ โซฟา
นอกจากนี้ นักการตลาดมักจะศึกษาผู้บริโภคที่มักจะมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับบริการหรือผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังต้องใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารกับผู้บริโภคในแง่ของการรับข้อเสนอแนะและการกำหนดประเภทของข้อเสนอแนะที่ต้องการ
การตลาดเริ่มต้นด้วยการระบุความต้องการของผู้บริโภค และยุติด้วยการส่งมอบและการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ หรือบริการขั้นสุดท้าย การตลาดปัจจุบันเน้นการศึกษาพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักการตลาดวางแผน Marketing mix หรือส่วนประสมทางการตลาด โดยยึดผู้บริโภคเป็นหลัก การประเมินความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้างความภักดีของลูกค้านั้น คือเป้าหมายที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจนั่นเองค่ะ