ในช่วงที่ผ่านมาอาจจะมีหลายท่าน ได้ยินคำว่า PDPA กันมาบ้างนะคะ เนื่องด้วยกฏหมายดังกล่าว ได้มีผลบังคับใช้นั่นเองค่ะ โดยบทความนี้ จะมาแนะนำเกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นว่า PDPA นั้นคืออะไร และมีขั้นตอนในการทำให้ผู้ใช้งานได้รับรู้ถึงเจตนาขององค์กรนั้นๆว่านำข้อมูลไปใช้ในด้านไหนกันนะคะ ตามมาดูรายละเอียดไปพร้อมกันเลยค่ะ
PDPA คืออะไร?
PDPA มาจากชื่อเต็มว่า “Personal Data Protection Act” เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีจุดประสงค์ เพื่อคุ้มครอง และรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย โดยไม่ให้นำข้อมูลไปใช้ หรือนำไปจัดเก็บโดยไม่แจ้งให้ทราบ อาทิเช่น การซื้อขายฐานข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์โทรศัพท์ ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เป็นต้นโดยกฏหมาย PDPA ได้เริ่มมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมานั่นเองค่ะ
ต้องยอมรับกันนะคะ ว่าในปัจจุบันนี้ การใช้งานสื่อออนไลน์ต่างๆนั้น มีบทบาทกับการใช้ชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก แทบจะทุกคนล้วนใช้จากงานอินเตอร์เน็ตกันทั้งนั้น ส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลต่างๆนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมากเลยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น การสมัครสมาชิกตามเว็บไซต์ต่างๆ, การลงทะเบียนรับสิทธิ์ประโยชน์, การขอเข้าถึงตำแหน่ง GPS ของผู้ใช้งาน, การเก็บ Cookie จากการเข้าชมเว็บไซต์ และอื่นๆอีกมากมายเลยค่ะ ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลทั้งสิ้น ส่งผลให้มีกฏหมาย PDPA ฉบับนี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประกอบการต่างๆนั้น ให้ความใส่ใจกับการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานมากขึ้น โดยต้องมีการขอความยินยอมจากผู้ใช้งานทุกครั้ง ก่อนที่จะเก็บข้อมูลนั่นเองค่ะ
SMS PDPA กับการส่งแบบฟอร์มยินยอม (Consent Form) ให้กับลูกค้ามีความสำคัญอย่างไรนั้น มาดูกันต่อเลยนะคะ
SMS PDPA กับการส่งแบบฟอร์มยินยอม
การส่งหนังสือยินยอม (Consent Form) เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ทางองค์กรจะนำข้อมูลไปใช้นั้น นับเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในกฏหมาย PDPA เลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะหากทางผู้ใช้งานไม่ยินยอมให้ทางผู้เก็บข้อมูลนำไปใช้ จะส่งผลให้ถือเป็นการละเมิดสิทธิความคุ้มครองในข้อมูลส่วนตัวได้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในกรณีดังกล่าว หลายองค์กรจึงให้ความสนใจในการใช้งานบริการ “SMS PDPA” กันค่ะ ซึ่งสามารถที่จะส่งข้อความไปยังผู้ใช้งานนั้นๆ ในกรณีที่ท่านมีหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับ
ซึ่งข้อดีของการใช้บริการ “SMS PDPA” ก็คือ
– สามารถที่จะแจ้งจุดประสงค์ต่างๆตามที่เราจะแจ้งให้กับผู้รับได้โดยตรง ถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว
– และที่สำคัญสามารถที่จะตั้งชื่อ Sendername ที่แสดงให้กับผู้รับนั้นทราบได้ว่า ข้อความ SMS ดังกล่าวส่งมาจากบริษัทใด (ซึ่งการจะขอเปิดใช้งานชื่อ Sendername นั้นจะต้องมีการลงทะเบียน Whitelist กับทาง Operator ก่อนถึงจะสามารถใช้งานได้)
ระบบ SMS PDPA กับการเก็บรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
เนื่องด้วยการส่ง SMS PDPA ให้กับผู้ใช้งานนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากเลยนะคะ โดยจะต้องมีการคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้งาน ไม่ให้มีการรั่วไหลเป็นอันดับแรก เพราะฉะนั้นแล้ว การเลือกใช้งานจากผู้ให้บริการที่มีคุณภาพนั้น เป็นสิ่งที่องค์กรต้องให้ความใส่ใจเป็นอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ค่ะ
เครดิตภาพ : จาก ANTI-FAKE NEWS CENTER